รับรื้อถอนโรงงาน , รับทุบตึก , รับซื้อโครงสร้าง , รับรื้อถอนภายใน , รับประมูลงานรื้อถอน

ขั้นตอนเตรียมการรื้อถอน

  1. ทำการขออนุญาตรื้อถอนอาคารต่อหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง
  2. ทำการบอกกล่าวเพื่อนบ้าน เนื่องจากระหว่างดำเนินการรื้อถอนอาจมีเสียง ดังหรือฝุ่นละออง
  3. เตรียมระบบน้ำประปา ไฟฟ้าเครื่องมือสื่อสารที่ต้องใช้ อุปกรณ์ดับเพลิง เครื่องมือ เครื่องจักร
  4. จัดทำประกันภัยต่างๆ สำหรับงานที่มีความเสี่ยงสูง
  5. สร้างรั้ว กันชอน กันวัสดุตกหล่น
  6. คลุมอาคารโดยผ้าใบเพื่อป้องกันฝุ่นละอองที่เกิดจากการรื้อถอน
  7. พิจารณาพื้นที่โดยรอบอาคารลักษณะโครงสร้างอาคาร ตลอดจน ทำความเข้าใจในขั้นตอน
  8. วางแผนงาน ขั้นตอนรื้อถอนให้ถูกต้อง และปลอดภัย
  9. จัดเตรียมแรงงาน ผู้ควบคุมงาน เครื่องจักร รถบรรทุกที่จำเป็นต้องใช้
  10. กำหนดแผนงาน ระยะเวลา การดำเนินการรื้อถอน

ขั้นตอนการรื้อถอนอาคาร

  1. ทำการขนย้าย เฟอร์นิเจอร์ วัสดุต่างๆ ที่สามารถขนย้ายออกไปได้โดยไม่ ต้องทำการรื้อถอน
  2. รื้อถอนวัสดุที่แตกหักง่ายของลอย ภายในและภายนอกอาคาร
  3. ถอดวงกบประตูหน้าต่างและเฟอร์นิเจอร์บิ้วอิน ผนังกั้นห้อง
  4. รื้อถอนงานระบบ สุขาภิบาล ระบบไฟฟ้า ระบบสาธารณูปโภค
  5. ทำการขนย้ายวัสดุที่เกิดจากการรื้อถอนอาคารออกไปทิ้งไปทุกชั้น
  6. รื้อถอนพื้นอาคารทุกชั้น ผนังก่ออิฐ ฉาบปูนทั้งหมด ทั้งภายในและ ภายนอกอาคาร
  7. รื้อถอนคานและเสาภายใน และภายนอก ชั้นบนสุด ตามด้วยชั้นล่าง
  8. ใช้เครื่องจักรเข้าทำงานโดยใช้แบคโฮหัวเจาะ PC 200หรือ PC120รื้อถอนคานคอดินฐานราก
  9. ทำการขนย้าย เศษวัสดุปูน และเศษวัสดุอื่นๆ โดยใช้รถบรรทุกและคลุม ด้วยผ้าใบ
  10. ทำการปรับพื้นที่ให้พร้อมสำหรับงานก่อสร้าง
  11. ส่งมอบงานให้กับผู้ว่าจ้าง และ ผู้รับจ้าง

มาตรการที่เกี่ยวกับการรื้อถอน มาตรการป้องกันมลภาวะและผลกระทบต่อสาธารณะ

  1. จัดให้มีตาข่ายหรือผ้าใบหุ้มตัวอาคาร เพื่อป้องกันวัสดุตกหล่นและฝุ่น ละออง
  2. จัดให้มีการฉีดน้ำ ด้วยเครื่องปั๊มน้ำแรงสูง เพื่อลดฝุ่นละออง
  3. การทำงานจะไม่ก่อให้เกิดเสียงรบกวนผู้อยู่อาศัยบริเวณข้างเคียงระหว่าง เวลา22.00– 6.00 น.
  4. ไม่ทิ้งหรือกองวัสดุจากการรื้อถอนในที่สาธารณะแต่จะจัดเก็บรวมกองไว้ ในที่เหมาะสม เพื่อรอการขนย้ายและไม่กีดขวางการทำงาน
  5. การขนย้ายวัสดุส่วนใหญ่จะดำเนินการในเวลากลางคืนมาตรการความปลอดภัยในการรื้อถอน
  6. จัดให้มีวิศวกรควบคุมงาน
  7. ตรวจสอบเครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆและวิธีการรื้อถอนให้เหมาะสมกับลักษณะงาน เพื่อความปลอดภัยอยู่เสมอ
  8. ทำรั้วโดยรอบบริเวณที่ทำการรื้อถอน สูงไม่น้อยกว่า 2 เมตร
  9. จัดให้มีผ้าใบหรือตาข่ายคลุมตัวอาคารและซ่อมแซมเมื่อขาดหรือชำรุดจนกว่างานจะแล้วเสร็จ
  10. ก่อนจะดำเนินการรื้อถอนอาคาร จะทำการสำรวจตำแหน่งงานระบบสาธารณูปโภคเดิม เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายและอันตรายขึ้นใน ขณะทำการรื้อถอน
  11. จัดทำป้ายเตือนอันตรายตามจุดต่างๆในบริเวณรื้อถอน
  12. จัดกองเศษวัสดุไว้ภายในเวลากลางคืน จะจัดให้มีแสงสว่างอย่างเพียงพอ
  13. จัดให้มีหมวกนิรภัย เพื่อป้องกันอันตรายที่ศีรษะ สำหรับคนงานและผู้เกี่ยวข้องที่ได้รับอนุญาต ให้เข้าไปในบริเวณรื้อถอนมอบงาน